099-2415545 |
วิธี ให้นมแม่
คุณแม่ มือใหม่ หลายคน อาจมีความกังวล เรื่อง การ ให้นมแม่ แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ ถ้าเรา ศึกษา ข้อมูลมาก่อน จะรู้เลยว่า การ ให้นมแม่ ให้สำเร็จ ง่ายกว่าที่คิดไว้มากมาย เผลอๆ ง่ายกว่า การ ป้อนนมด้วย ขวดนม ด้วยซ้ำ เพราะ เด็กๆ มีสัญชาตญาณในการ ดูดนมแม่ อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เด็กอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการ หา หัวนม ในครั้งแรก วิธีการที่ง่ายที่สุด คือ การอุ้มเด็กให้แก้มของเด็กชนกับหน้าอกคุณพอดี แล้วเอา หัวนม ใส่เข้าไปในปากลูก ควรแน่ใจว่าริมฝีปากของลูกห่างพอดีที่จะดูดนมได้ คุณควรกดบริเวณรอบๆหัวนม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลของน้ำนม เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลขาดช่วง คุณสามารถเอานิ้วมือจิ้มไปตรงกลางปากเด็ก หรือ ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้กดคางเบาๆเพื่อกระตุ้นให้เด็กดูดนมอย่างต่อเนื่อง เด็กจะตัดสินใจเองว่าดื่มนมเพียงพอแล้วหรือยัง โดยเด็กจะปล่อยหัวนมของแม่ออกมาเองเมื่อรู้สึกว่าอิ่ม เด็กจะดูดนมแบบอมๆในช่วง 2 – 3 นาทีแรก แต่จะดูดจริงหลังจากนั้น คุณควรเริ่มให้นมแม่ด้วยเต้านมข้างใดข้างหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงสลับข้างเพื่อให้นมต่อไป เลือกท่าทางสำหรับการให้นมแม่ คุณควรเลือกใช้ท่าทางที่ให้นมแม่แล้วรู้สึกสะดวก ผ่อนคลายทั้งตัวคุณและลูกน้อย ถ้าคุณต้องให้นมแม่บนเตียงนอนควรนั่งหลังตรงเท่าที่คุณจะนั่งได้ แต่ถ้าคุณนั่งอยู่ที่เก้าอี้ควรเลือกเก้าอี้ที่สามารถวางแขนได้สบาย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายท่า หลายวิธีในการให้นมแม่ ดังนี้คือ ท่าอุ้มแบบไขว้: การให้นมแม่ท่านี้เหมาะสำหรับการให้นมเด็กอ่อน โดยให้คุณวางหมอน 1-2 ใบที่ตัก แล้ววางเด็กให้อยู่ตรงข้ามกับตัวคุณ ถ้าเด็กดูดนมที่หน้าอกซ้ายของแม่ให้ใช้มือขวาอุ้มเด็ก โดยคุณต้องประคองศีรษะและคอของเด็กด้วยมือของคุณตลอดเวลาด้วย ท่าอุ้มแบบฟุตบอล: การ ให้นมแม่ ท่านี้เหมาะสำหรับแม่ที่ผ่าตัดคลอด หรือแม่ที่มีลูกแฝด หรือแม่ที่มีลูกตัวเล็ก โดยให้คุณนั่งบนเก้าอี้ที่รู้สึกสบายตัววางแขนไว้ที่หมอนข้างตัวเพื่อช่วยพยุงตัวเด็ก อุ้มเด็กในท่ากึ่งนั่งที่ฝั่งตรงข้ามกับตัวคุณ โดยตำแหน่งก้นเด็กอยู่ที่ด้านหลังเก้าอี้ ให้ใช้แขนข้างที่อยู่ข้างตัวเด็กพยุงหลังเด็กไว้ โดยคุณต้องประคองศีรษะและคอของเด็กด้วยมือของคุณตลอดเวลา ท่าอุ้มแบบเปล: การให้นมแม่ท่านี้เหมาะสำหรับเด็กที่สามารถเคลื่อนไหวศีรษะและคอได้ดีแล้ว เด็กควรมีอายุอย่างน้อย 2 อาทิตย์ขึ้นไป ท่านี้คุณต้องยกศีรษะเด็กด้วยแขนขวา ถ้าคุณต้องการให้นมที่หน้าอกข้างขวา ท่าอุ้มแบบนอนข้าง: การให้นมแม่ท่านี้เหมาะสำหรับแม่ที่ไม่สามารถนั่งได้ หรือแม่ที่ให้นมลูกขณะที่นอนหลับ หรือให้นมลูกตอนกลางคืน โดยให้เด็กนอนอยู่ที่ข้างตัวของคุณในลักษณะที่หน้าท้องชนกัน การให้นมแม่จะช่วยกระตุ้นหน้าอกของแม่ให้ผลิตน้ำนมที่มากเพียงพอสำหรับลูก การที่คุณมีความสุขและสนุกกับการเลี้ยงดูลูกน้อย จะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลของคุณได้ คุณควรพักผ่อนให้เต็มที่ด้วยเพื่อช่วยให้น้ำนมของคุณไหลได้ดี เทคนิคการให้นมแม่ ไม่สำคัญว่าคุณจะเลือกท่าทางแบบไหนในการให้นมแม่ สิ่งที่สำคัญก็คือการให้ทารกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี โดยวางศีรษะทารกอยู่ที่บริเวณช่วงล่างของหน้าอกแม่ โดยให้จมูกทารกอยู่ที่หน้าหัวนมแม่ ซึ่งจะทำให้ทารกดูดนมแม่ด้วยการใช้ขากรรไกรล่างได้ดี คุณควรใช้มือช่วยพยุงหน้าอกและขยับเต้านม เพื่อให้น้ำนมไหลในตำแหน่งที่พอดีกับปากของทารก กรณีที่คุณพบว่าขากรรไกรล่างของเด็กลดต่ำลง ให้คุณรีบยกศีรษะและหัวไหล่ของเด็กขึ้นมาแนบที่หน้าอก คุณสามารถสังเกตได้ว่าลูกของคุณดูดนมแม่ได้ดีหรือไม่ โดยสังเกตจากตำแหน่งริมฝีปากเด็กว่าอยู่ห่างในระยะที่พอดีค่อนไปทางฐานล่างของอกแม่ และคุณรู้สึกสบายขณะที่ให้น้ำนม ระยะเวลาในการให้นมแม่ คุณควรจัดตารางเวลาเลี้้ยงลูกน้อย เพื่อทำให้คุณรู้สึกว่าไม่ยุ่งยาก โดยเฉพาะช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรกที่คุณอาจต้องให้นมลูกทุกๆ 2 ชั่วโมงครึ่ง - 3 ชั่วโมง ช่วงสัปดาห์ที่ 6 เด็กส่วนมากปรับเวลาตัวเองและเปลี่ยนเวลาให้นมเป็นทุก 4 ชั่วโมง จนเมื่อเด็กอายุ 10 – 12 สัปดาห์ช่วงนี้เด็กส่วนมากจะเริ่มนอนหลับสนิทได้ตลอดทั้งคืน ดังนั้นการให้นมในช่วงกลางคืนอาจไม่จำเป็น สำหรับระยะเวลาการให้นมแม่จะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน เด็กบางคนอาจดูดนมแม่เสร็จได้ภายใน 10 นาที แต่เด็กบางคนอาจจะใช้เวลานานกว่า 45 นาที สำหรับระยะเวลาเฉลี่ยในการให้นมแม่ คือ 20-30 นาที นอกจากนี้คุณอาจพบว่าระยะเวลาในการให้นมลูกก็อาจไม่แน่นอนในแต่ละครั้ง เมื่อไรจึงควรหยุดให้นม ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการหยุดให้นม คือ เมื่อลูกน้อยเริ่มขยับเอาปากออกมาจากการดูดนม ซึ่งระยะเวลาเฉลี่ยในการดูดนมแม่แต่ละครั้งประมาณ 20-25 นาที ถ้าคุณต้องการหยุดให้นมลูกน้อย คุณสามารถทำได้โดยการใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในปากเด็ก หรือ อาจใช้นิ้วโป้งหรือนิ้วชี้ดันที่คางเด็กเบาๆ หลังให้นมแม่เสร็จแล้วต้องไล่ลมให้เด็กทุกครั้ง แล้วจึงเปลี่ยนสลับข้างให้นมแม่เพื่อเด็กจะได้ดูดนมแม่อีกข้าง ถ้าลูกไม่ยอมดูดนมแม่อีกข้าง ขอแนะนำให้คุณเริ่มต้นด้วยนมแม่ข้างนี้ก่อนในมื้อหน้า การไล่ลมให้ลูกน้อย เด็กต้องการให้ช่วยขับลมหลังจากดื่มนมเสร็จแล้วทุกครั้ง วิธีที่ดีที่สุด คือ วางเด็กบนไหล่แล้วลูบตบเบาๆที่หลัง อีกวิธีหนึ่งก็คือ ให้วางเด็กที่ตักตรงหัวเข่าแล้วเอาหน้าท้องลง ลูบหรือตบหลังเบาๆ คุณสามารถอุ้มเด็กให้นั่งบนตักโดยให้หลังเด็กชนกับหน้าอกคุณก็ได้ นมอาจจะสำรอกออกมา คุณควรวางผ้าเช็ดตัวที่สะอาด หรือผ้าอ้อมไว้บนไหล่เพื่อกันเลอะเทอะเสื้อผ้า โดยเด็กอาจจะเรอ 1 - 2 ครั้งระหว่างที่กำลังให้นม ความถี่ในการให้นมแม่ ทารกจะดูดนมได้ดีที่สุดเมื่อเวลาหิว การจัดตารางเวลาให้นมแม่ โดยไม่ให้น้ำหรืออาหารอื่นแทรกระหว่างมื้อนมจะช่วยทำให้ทารกดูดนมแม่ได้ดีทุกครั้ง ช่วง 2-3 วันแรกคุณอาจต้องให้นมแม่อย่างน้อย 8 ครั้งภายในเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อลูกน้อยของคุณอายุเริ่มโตมากขึ้น ความถี่ในการให้นมก็จะลดลง การสังเกตว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ คุณอาจสังเกตได้จากความถี่ในการเปลี่ยนผ้าอ้อม ถ้าทารกได้รับนมเพียงพอต่อความต้องการร่างกายในแต่ละวัน คุณจะเปลียนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยประมาณวันละ 6-8 ผืน และสังเกตว่าลูกมีการถ่ายอุจจาระได้บ่อยๆ ครั้งละน้อยๆ อย่างปกติทุกวัน ถ้าคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับปริมาณน้ำนมที่ทารกควรได้รับในแต่ละวัน คุณควรปรึกษาแพทย์ คุณควรให้นมแม่ข้างเดียวหรือให้นมแม่ทั้ง 2 ข้าง ? ช่วงสัปดาห์แรกของ การ ให้นมแม่ คุณควร ให้นมแม่ ทั้ง 2 ข้างทุกครั้ง เพื่อช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีทั้ง 2 ข้าง ถ้าลูกของคุณไม่ยอดดูดนมที่เต้านมอีกข้าง ขอแนะนำว่าครั้งหน้าที่ให้นมแม่ คุณควรเริ่มต้น ให้นมแม่ จากข้างที่ลูกปฏิเสธนี้ก่อน สำหรับทารกที่มีอายุ 1 เดือนขึ้นไป ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทารก ดูดนมแม่ เพียงข้างเดียวในแต่ละครั้งจนอิ่ม โดยครั้งต่อไปให้ทารกดูดนมแม่จากอีกข้างหนึ่ง วิธีการสลับข้างนี้ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารและแคลอรี่ที่เพียงพอจาก นมแม่ และ ทำให้ หน้าอก คุณแม่ มีขนาดเท่าๆ กัน เมื่อเลิกให้นมแม่ แล้วด้วยค่ะ (ดู หน้าอกสองข้างไม่เท่ากัน) ดู เทคนิค การให้นมแม่ พร้อมดูรูป อย่างละเอียด เพิ่มเติม ข้อมูล วิธีการ ให้นมแม่ จาก www.wyethnutrition.co.th
|
หัวนมบอด หัวนมสั้น หัวนมใหญ่ เตรียมให้พร้อม สำหรับให้นม แก้ไข หัวนมบอด ก่อนให้นมลูก วิธีเลือก บรา สำหรับแม่ท้อง หน้าอกสวย แม้ ให้นม นวดเต้านม กระตุ้นนมแม่ แม่ท้อง ต้องวัดหน้าอก อย่างไร ข้อดีของ การ ให้นมแม่ ที่คุณยังไม่รู้ ปัญหา หัวนมแตก ระหว่างให้นมลูก 5 เรื่องเข้าใจผิด ที่ทำให้แม่พลาด การให้นมลูก วิธีแก้อาการแพ้ท้อง นมแม่ หรือ นมวัว? วิธี ดูแลหน้าอก ระหว่างตั้งครรภ์ วิธีดูแลเต้านมคุณแม่ ระหว่างให้นม เครื่องปั๊มนม เลือกอย่างไรดี ให้นมแม่ อย่างไร ไม่ทำร้ายหน้าอกแม่ ป้องกัน รอยแตกลาย ให้ว่าที่ คุณแม่ 21 ข้อดี ของการ ให้ลูกกินนมแม่ สาเหตุ ที่ทำให้ การให้นมแม่ ไม่สำเร็จ เตรียม ตัว ให้ พร้อม ก่อน ให้นมแม่ |